กฎหมายแรงงานพื้นฐา

กฎหมายแรงงานพื้นฐาน – สิ่งที่ลูกจ้างควรรู้เมื่อทำงานกับนายจ้าง

 ปัจจุบันมีผู้ประกอบการหน้าใหม่หลายต่อหลายธุรกิจเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งนอกเหนือจากเทคนิคในการบริหารธุรกิจแล้ว สิ่งที่เหล่าผู้ประกอบการหน้าใหม่จำเป็นต้องรู้และจะละเลยไม่ได้เลยคือ “กฎหมายแรงงาน” ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่บรรดาเจ้าของกิจการหน้าใหม่ต้องใส่ใจดังนี้ค่ะ

1. การทำสัญญาการจ้างงาน

          สัญญาการจ้างงาน คือ สัญญาการตกลงว่าจ้างงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งการตกลงด้วยวาจาหากทั้งสองฝ่ายยอมรับแล้วก็ถือเป็นสัญญาจ้างงานแล้ว และเมื่อลูกจ้างลงมือทำงานให้นายจ้างแล้วก็ถือว่าสัญญาเป็นอันสมบูรณ์ แต่เพื่อป้องกันข้อยุ่งยากในภายหลังนายจ้างควรจะทำเป็นหนังสือสัญญาจ้างงาน ซึ่งระบุถึงรายละเอียดการทำงาน กฏระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ในขณะปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องไม่ขัดกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานมิเช่นนั้นจะถือว่าสัญญานั้นเป็นโมฆะ โดยสัญญาจ้างงานนั้นจะมีผลตลอดอายุการทำงานของลูกจ้าง ยกเว้นกรณีที่เป็นสัญญาจ้างชั่วคราวที่ระบุระยะเวลาทำงานที่แน่นอน จะมีผลสิ้นสุดตามระยะเวลาที่ระบุไว้

2. การกำหนดระยะเวลาการทำงาน และการพักผ่อนระหว่างงานของลูกจ้าง

  • ตามกฏหมายแรงงานกำหนดเอาไว้ว่างานด้านพาณิชกรรม หรืองานอื่น ๆ ทั่วไประยะเวลาในการทำงานวันละไม่เกิน 9 ชั่วโมง แต่สัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 48 ชั่วโมง
  • งานด้านอุตสาหกรรมไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง
  • งานขนส่งไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง
  • งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายตามที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดไว้ ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 42 ชั่วโมง
  • ลูกจ้างต้องมีเวลาพักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ภายหลังจากที่เริ่มทำงานไปแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง

3. การกำหนดวันหยุด และค่าทำงานในวันหยุด

  • ใน 1 สัปดาห์ต้องมีวันหยุดอย่างน้อย 1 วัน โดยวันหยุดต้องห่างกันไม่เกิน 6 วัน
  • ใน 1 ปีลูกจ้างมีสิทธิหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่า 13 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 ปีมีสิทธิลาพักร้อนได้อย่างน้อย 6 วัน

4. การทำงานล่วงเวลา และค่าทำงานล่วงเวลา

  • ค่าล่วงเวลา : ลูกจ้างที่ทำงานในช่วงเวลาทำงานในวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 17.30 / 18.00 น. (เวลาหลังเลิกงานที่แต่ละบริษัทกำหนด) เป็นต้นไป จะได้รับค่าจ้างจำนวน 1.5 เท่าของค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง
  • ค่าทำงานในวันหยุด : ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ 0-8 ชั่วโมงแรก (ไม่รวมเวลาพัก 1 ชั่วโมง) จะได้รับค่าจ้างจำนวน 1 เท่าของค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง
  • ค่าล่วงเวลาในวันหยุด : ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 9 เป็นต้นไป (ไม่รวมเวลาพัก 1 ชั่วโมง) จะได้รับค่าจ้างจำนวน 3 เท่าของค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง

Leave a Reply

Your email address will not be published.